ชื่อไทย : เอื้องแปรงสีฟัน
ชื่อท้องถิ่น : กับแกะ(เลย) / คองูเห่า(กลาง) / เอื้องสีฟัน(เหนือ) / เอื้องหงอนไก่ (แม่ฮ่องสอน,เหนือ) 
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium secundum (Blume) Lindl.
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย : กล้วยไม้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยเป็นแท่งกลม ยาว 15 – 30 (ถึง 50) ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 – 1.5 ซม. ปลายเรียว ผิวต้นเป็นร่องตื้นๆ ขึ้นเป็นกอ ต้นมักจะทอดเอนหรือโค้งเล็กน้อย ใบ
ใบ :
 รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 4 ซม. ยาว 12-15 ซม. ปลายมนหรือหยักเว้าตื้นๆ แผ่นใบบาง ทิ้งใบเมื่อผลิ
ดอก :
ออกเป็นช่อใกล้ยอด ก้านและแกนช่อตรง ยาว 8-12 ซม. ดอกเรียงแน่นเป็นแถวอยู่ด้านบน ดอกบานเต็มที่ กว้าง 0.5 ซม. ดอกรูปคล้ายกรวยเรียงตัวในแนวตั้ง ขนาด 1 – 1.2 ? 0.5 – 0.6 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีชมพูเข้ม กลีบปากสีเหลือง มีบางต้นที่ดอกเป็นสีขาว และปลายกลีบปากเป็นสีส้มอมเหลือง แต่หายากมาก สีดอกมีตั้งแต่ขาว ชมพูอ่อน ชมพูอมม่วง ไปจนถึงม่วงเข้ม ดอกทยอยบานจากโคนไปสู่ปลายช่อเป็นเวลานานหลายสัปดาห์
ผล :
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : กุมภาพันธ์ สิ้นสุดระยะติดดอก : เมษายน
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา พบทุกภาคตามป่าผลัดใบถึงป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 300-1,600 เมตร

ถิ่นกำเนิด

การกระจายพันธุ์ จีน พม่า อินโดจีน และภูมิภาคเอเชีย

การใช้งานด้านภูมิทัศน์

การปลูกและการขยายพันธุ์ :
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :
แหล่งอ้างอิง : [1] องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2551. กล้วยไม้ไทย 1. Thai Native Orchids 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก. วนิดาการพิมพ์. เชียงใหม่. [2] อบฉันท์ ไทยทอง. 2552. กล้วยไม้เมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 16. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
กล้วยไม้
ที่อยู่ :
หมายเหตุ :
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554